พุยพุย

หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

2.3).การประยุกต์ใช้ในประจำวัน

  

        1).สำรวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ (Topographic survey )  

            สำรวจเพื่อทำเส้นชั้นความสูง ( Contour line )
        
                - ปริมาตรดินตัด-ดินถม ( Cut-Fill )





          ขั้นตอนการรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ

      
                 1).  การสำรวจสังเขป (Reconnaissance)
                       2).  การสำรวจรังวัดหมุดหลักฐาน (Control Surveys)
                       3).  การสำรวจรังวัดเก็บรายละเอียด (Details Surveys)
                       4).  การเขียนแผนที่ภูมิประเทศ
                       5).  การตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ
                       6).  ผังงานรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ


    

          1.1).การสำรวจสังเขป (Reconnaissance) 

    
                การสำรวจสังเขป คือ การลงพื้นที่เพื่อประเมินสภาพภูมิประเทศก่อนเข้าทำการรังวัด   โดย             มีวัตถุประสงค์เพื่อ

                 1). กำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมในการสร้างหมุดหลักฐานทั้งทางราบและทางดิ่ง
                 กำหนดตำแหน่งหมุดสถานีวงรอบเพื่อใช้ในการจัดเก็บรายละเอียด

                 2). กำหนดมาตรฐานการดำเนินงานรังวัดหมุดหลักฐาน
                 วิเคราะห์ความถูกต้องเชิงตำแหน่งที่ต้องการ และเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างเหมาะสม

                 3). จัดหาหมุดหลักฐานที่ใช้ในการโยงยึดทั้งทางราบและทางดิ่งในบริเวณใกล้เคียง

            4). ประเมินเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

     

          1.2).การสำรวจรังวัดหมุดควบคุม (Control Surveys)


     หลังจากได้ข้อกำหนดการทำงานจากการวิเคราะห์พื้นที่ด้วยการสำรวจสังเขป                                   การสร้างหมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องดำเนินการก่อน  โดยมี                     วัตถุประสงค์

    

                 1). โยงยึดหมุดหลักฐานทางราบและทางดิ่งจากภายนอกมายังหมุดหลักฐานภายใน


                 2). พื้นที่โครงการรังวัดหมุดควบคุมสำหรับใช้ในพื้นที่โครงการอย่างทั่วถึง


                 3). วิธีรังวัดหมุดควบคุม

           1.3).การรังวัดหมุดหลักฐานทางราบ (Horizontal Control 


          Surveys)

       
                 1). Traverse


                       2). Triangulation Network


                       3). GPS


                       4). การรังวัดหมุดหลักฐานทางดิ่ง (Vertical Control Surveys)


                       5). Differential Leveling

           1.4).การสำรวจรังวัดรายละเอียด (Details Surveys)

 
เมื่อได้สร้างหมุดสถานีที่ทราบค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่ง จึงใช้สถานีดังกล่าว  ในการรังวัดเก็บ     รายละเอียดต่าง ๆ ในพื้นที่โครงการ ซึ่งวิธีการสามารถทำได้หลายวิธี  ได้แก่



                1). วิธีการวัดระยะฉาก (Offset Surveying)


                2). วิธีรังวัดแบบสเตเดีย (Stadia)


                3). วิธีรังวัดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทัชโอมิตรี (Electronic Tacheometry)

     2).งานสำรวจทางหลวงแผ่นดิน





2.1)งานรังวัดดาวเทียมหมุดควบคุมหลัก/รอง

      ดำเนิน งานจัดทำ รังวัดดาวเทียมหมุดควบคุมโครงการ ด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบรังวัดสองความถี่ โยงยึดพิกัด โยงยึดระดับ รทก. (ด้วยจีพีเอสหรือกล้องระดับ) จากหน่วยงานแผนที่ของราชการ เช่น กรมแผนที่ทหาร กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรหรือ กรมที่ดิน เพื่อใช้ใน งานสำรวจภูมิประเทศ

2.2)งานสำรวจภูมิประเทศและระดับตามแนวทาง

      งาน สำรวจภูมิประเทศ ดำเนินงานสำรวจภาคสนามด้วยกล้องวัดมุม-กล้องระดับตามแนวทาง เพื่อเป็นรายละเอียดภูมิประเทศ เช่น ถนน อาคาร สาธารณูปโภค เสาไฟฟ้า ท่อประปา ท่อระบายน้ำ ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยสำรวจเป็นวงรอบปิด พร้อมเก็บระดับรูปตัดตามยาวแนวศูนย์กลางทาง ซ้าย-ขวา เก็บระดับรูปตัดขวาง เพื่อนำข้อมูลมาเขียนแผนที่ แปลน โปรไฟร์  มาตราส่วน 1:1,000 , 1:500 เพื่อใช้ในงานออกแบบรายละเอียดก่อสร้าง

2.3)งานสำรวจจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

      ดำเนินงานสำรวจจัดทำแบบปูโฉนดที่ดิน (Cadastral Plan) พร้อม งานสำรวจภูมิประเทศ งานกำหนดเขตทาง งานประเมินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ งานสำเนาโฉนดที่ดิน

2.4)งานสำรวจวางแนวศูนย์กลางทาง-ปักหลักเขตทาง
          

      ดำเนินงานสำรวจวางแนวศูนย์กลางทาง ปักหมุด PC PT POT PI และปักหลักเขตทาง งานสำรวจภูมิประเทศ

2.5)งานสร้างโมเดลความสูงภูมิประเทศ

      นำข้อมูลพิกัด-ระดับ จากงานสำรวจภูมิประเทศ มาสร้างเป็นโมเดลความสูงภูมิประเทศ (DTM) เพื่อใช้ในการสร้างรูปตัดตามยาว-ขวาง คำนวณปริมาณดิน ขุด-ถม และ สร้างภาพจำลองสามมิติแสดงภูมิประเทศ




3).สำรวจเพื่อการป่าไม้




   
     ใน ทางป่าไม้แผนที่และการรังวัดทำแผนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แผนที่ถือว่าเป็เอกสารและหลักฐานสำคัญในการกำหนดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขต   รักษาพันธุ์สัตว์ป่า วนอุทยาน หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่ประสงค์จะสงวนไว้เพื่อประโยชน์ในทาง ป่าไม้ ส่วนการทำแผนที่นั้นมีความจำเป็นในการกันพื้นที่ป่าสงวนออกไปบางส่วน เพื่อกาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อย่างเช่น การแบ่งปันที่ดินทำกินที่อยู่ในเขตป่าสงวนออกเป็นส่วน ๆ ให้แก่ประชาชนซึ่งไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง หรือการรังวัดขอบเขตของสวน  ป่า ดังนั้นการศึกษาวิชาการรังวัดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นจะขาดเสียมิได้ สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะออก
ทำงานด้านป่าไม้ถ้าจะแบ่งงานรังวัดตามวัตถุประสงค์แล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ
  
   1.) งานรังวัดที่ทำขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตของที่ดิน

   2.) งานรังวัดที่ทำขึ้นเพื่อเก็บรายละเอียดสำหรับใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างทั้งของรัฐและเอกชน

   3.) งานรังวัดที่มีขอบข่ายกว้างขวางและมีความถูกต้องสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยรัฐบาล


4).การสำรวจเพื่องานวิศวกรรม (Engineering Surveying)




     เป็นการสำรวจเพื่อการออกแบบก่อสร้าง การสำรวจจะเป็นการทำแผนที่ภูมิประเทศซึ่งจะทราบพิกัดฉาก และค่าระดับ  ถ้าเป็นการสำรวจพื้นที่ขนาดเล็กก็คิดว่าเป็นพื้นราบ เช่น การสร้างตึก ถนน  อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก  ถ้าเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ก็จะใช้การสำรวจขั้นสูง

การสำรวจจะแบ่งขั้นตอนออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ขั้นการออกแบบ

2. ขั้นก่อนกรก่อสร้าง

3. ขั้นการติดตามความก้าวหน้าในการก่อสร้าง 




5).การสำรวจเพื่อการก่อสร้างอาคาร ( Construction Survey )






 - เนื้อที่และปริมาตรดินตัด-ดินถม ( Cut-Fill )
 - สำรวจทำผังบริเวณ , วางตำแหน่งลายเสาเข็ม , วางผังโครงการ , วางตำแหน่งสิ่งก่อสร้าง
 1. การวางผัง
 2. การวางตําแหน่งเสาเข็มและให้ระดับผัง
 3การกําหนดตําแหน่งและทิศทาง
 4การกําหนดตําแหน่งอาคารทางสูงและตรวจสอบ
 5การให้ระดับอาคาร                                               
           6การหาการทรุดตัวของอาคาร
 7การทําระดับตรีโกณมิติ

 สามารถที่จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1. การสำรวจเพื่อการออกแบบ เพื่อให้ฝ่ายออกแบบนำไปออกแบบ ซึ่งข้อมูลที่           ต้องการทราบ มีดังนี้

1.1) ขอบเขตของพื้นที่และระดับความสูงของพื้นที่

1.2) ถนน ขอบถนนและผิวจราจรเป็นการสำรวจสภาพเส้นทางเข้าออก  โครงการมีผลเมื่อต้องนำวัสดุอุปกรณ์เข้าโครงการหากเข้าออกไม่สะดวก  อาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

1.3) สิ่งสาธารณูปโภค เช่น ท่อประปา , สายไฟฟ้า , ท่อระบายน้ำทิ้ง เพื่อสำหรับใช้งานในระหว่างการก่อสร้าง

1.4) อาคารที่อยู่ใกล้กับสถานที่จะก่อสร้างเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงแนวและระดับในการก่อสร้าง

1.5) สภาพการรับน้ำหนักของพื้นดิน หรือ ลักษณะของผิวดินหลังจากออกแบบอาคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงนำไปสู่ การสำรวจในแบบที่ 2

2. การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การสำรวจขั้นนี้ถ้าเป็นการสร้างตึกขนาดใหญ่           
จะต้องสำรวจ ดังนี้

2.1) สำรวจ สภาพของตึกที่อยู่ใกล้ เช่น ลักษณะ ของโครงสร้าง ซึ่งอาจจะได้รับผลเสียหายในขณะที่ทำการก่อสร้าง เช่น การตอกเข็ม ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นของความกระเทือน ทำให้สิ่งก่อสร้างรอบข้างเกิดการทรุดตัวและพังได้

2.2) ค่าระดับของสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่แล้วนั้น รวมทั้งสิ่งสาธารณูปโภค และลักษณะของผิวจราจร

2.3) การกำหนดระยะและหมุด ควบคุม ต่างๆ เช่น Base lines ,Offset และหมุด BM โดย อ้างอิงจากแบบก่อสร้างที่ได้ทำการออกแบบ
2.4) หลังจากทำการกำหนดระยะและหมุด ควบคุมต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อย จึงเริ่มดำเนินการ ก่อสร้างอาคารต่อไป